วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

โครงสร้างของ E-learning

องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอน E-Learning
ประกอบด้วย การบริหารจัดการ โครงสร้าง การสื่อสาร ผู้สอน/ผู้ฝึกอบรม วิธีการ และวิชาการ หรือเนื้อหาวิชา โดยการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของ web-based Instruction , web-based Training และการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น กิจกรรมที่ใช้จัดการเรียนการสอน E-Learning เน้นการนำเสนอผลงานที่ไม่ต้อง เผชิญหน้ากันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งผู้จัดกิจกรรม การเรียนการสอนเป็นผู้ควบคุมดูแลระบบทั้งหมด และมีความแตกต่างระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติ คือ การเรียนแบบเผชิญหน้านั้นสามารถโต้ตอบกับ ผู้สอนได้โดยตรง และทันท่วงทีมากกว่า

การเรียนการสอน E-Learning นั้น จัดเป็นระบบเปิด เพราะนักเรียนและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปเรียนรู้ จากเนื้อหาสาระที่นำเสนอได้ ไม่จำกัดเพศ วัย อายุ สถานที่ และเป็นเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเรียนหรือไม่เรียนเนื้อหาใด ๆ ก็ได้ แต่ก็ต้องมีกระบวนการทดสอบความรู้เพื่อการประเมินผลการเรียนรู้ที่ดี จึงจะประสบความสำเร็จ การเรียนรู้ ที่เป็นระบบเปิดนี้ จะต้องอาศัยกระบวนการป้อนข้อมูลย้อนกลับ สามารถสนองต่อกระบวนการคิด ปัญญาของบุคคล มีการสาธิต ตัวอย่าง และการตอบสนองต่อกิจกรรม คำสั่งและงาน ที่วางไว้ อย่างเป็นระบบ แตกต่างจากการเรียนแบบเผชิญหน้า ซึ่งเป็นระบบปิด

วัตถุประสงค์ของการจัดโครงสร้าง E-Learning นั้น คือ เพื่อช่วยให้สามารถคิดกระบวนการลำดับ ขั้นตอนของการจัดทำ E-Learning การออกแบบ ซึ่งจะเป็นมิติของ E-Learning ต่อไป


มิติของโครงสร้าง E-Learning ได้แบ่งไว้ดังนี้

Institutional
เป็นรูปแบบของ ประเด็นที่น่าสนใจ การบริหารระบบ วิชาการ/เนื้อหาสาระ และการบริการผู้เรียนที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้
Management
การจัดการ E-Learning การดำเนินการนำเสนอ บริบทของ E-Learning และการกระจายของข้อมูล เนื้อหาสาระ
Technological
ตัวอย่าง การสาธิต เทคโนโลยี การวางแผน เครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรม
Pedagogical
เกี่ยวกับการสอน วิธีการนำเสนอ กระบวนการที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ การวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหาประเด็นที่น่าสนใจ เสียง ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การออกแบบสำหรับการเข้าถึงองค์ความรู้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Ethical
มาตรฐานหลัก ความถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคม การเมือง การปกครอง ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี
Interface design
การออกแบบปฏิสัมพันธ์ การมองเห็น ความรู้สึก ความสามารถในการโต้ตอบ การทดสอบ การเข้าถึงข้อมูลเข้าไปใช้ได้ง่าย สะดวก
Resource support
ทรัพยากรข้อมูล ตัวอย่างที่ online ความหมายและทรัพยากรที่ต้องการ
Evaluation
การประเมินผล ประกอบด้วย การประเมิน ผลสัมฤทธิ์ และโครงสร้างของบริบทของบทเรียน


การจัดการเรียนการสอน E-Learning เป็นเหตุให้ตอบสนองต่อความรูสึกของนักเรียนได้ แตกต่างจากการสื่อสารในสมัยปัจจุบัน หรือการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้านั่นเอง

อ้างอิงจาก : http://gotoknow.org/blog/peit/37770

10 ความคิดเห็น:

  1. อีเลินนิ่ง ที่โรงเรียนพี่ใช้เรียนวิชาคณิตศาสตร์

    ตอบลบ
  2. yesterday i was sick

    ตอบลบ
  3. เรียนมากเกินเดี๋ยวก็บ้าหรอกยายนิด

    ตอบลบ
  4. วันนี้ทำอะไรบ้างเข้าไปคุยกับป้าหน่อยหรือยัง

    ตอบลบ
  5. แล้วแต่ล่ะแบบเหมาะกับธรรมชาติของแต่ล่ะวิชาอย่างไรครับ?

    ตอบลบ
  6. E-Learning ใช้ได้กับวิชาที่เน้นทฤษฏี มากกว่าการปฏิบัติ

    ตอบลบ
  7. เป็นเรื่องที่ดี แต่เหมาะสมกับเด็กไทยหรือป่าว

    ตอบลบ
  8. are you reading Internet Proxy Service ?

    ตอบลบ
  9. ใช้อีเลินนิ่งก็ดีไม่ต้องเปลืองครูสอน แต่ถ้านักเรียนไม่เข้าใจก็จะเป็นปัญหา

    ตอบลบ
  10. **คุณนายสายเสมอ มาแล้วววววค่ะ**
    ความรู้น่าสนใจดีแต่เพิ่มเปิดเป็น เลยไม่ได้ตอบ

    ตอบลบ