วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ใบความรู้ Online

ใบความรู้รายวิชา ว 43102
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 6
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ใครสนใจสามารถเข้ามาดาวน์โหลดได้เลยนะคะ
ข้อควรปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ คลิ๊กที่นี่
อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ คลิ๊กที่นี่
สัญลักษณ์อันตรายของสารเคมี (ppt) คลิ๊กที่นี่
การวัดระยะ (เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์,ไมโครมิเตอร์) คลิ๊กที่นี่
ประวัติและส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ คลิ๊กที่นี่
การไทเทรตกรดเบส คลิ๊กที่นี่
หากลิงค์ไหนเสียกรุณาแจ้งด้วยนะคะ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงต่อไปค่ะ
..ขอบคุณค่ะ..

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการพัฒนาการฝึกอบรมผ่านเว็บ

การพัฒนาการฝึกอบรมผ่านเว็บให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพนั้น คือ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ฝึกอบรมได้ ดังที่ Web-Based Training Information Center (2007: Online) กล่าวว่า ความสำเร็จของการฝึกอบรมผ่านเว็บ คือ การพัฒนาระบบการจัดเรียนการสอน (Instructional System Design / Development : ISD) ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ฝึกอบรม โดยระบบการจัดการเรียนการสอนนั้นประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ความต้องการ (Client Needs Analysis)
2. การวิเคราะห์ผู้เรียน (Tasks/User Analysis)
3. การวิเคราะห์ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่ (Technical Analysis)
4. การออกแบบรูปแบบในการปฏิสัมพันธ์ (Interface Design)
5. การทดสอบระบบการปฏิสัมพันธ์ (Usability Testing)
6. การกำหนดมาตรฐานของระบบและการออกแบบรูปแบบในการนำเสนอเนื้อหา (Standards Definition and Design Document)
7. การสร้างต้นแบบของเว็บเพื่อการฝึกอบรม (Template Design)
8. การออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนการสอน (Instructional Design)
9. การออกแบบและกำหนดสื่อต่างๆ ในระบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Media Creation)
10. การจัดระบบเอกสารในเว็บ (Document Processing)
11. การร่างและกำหนดระบบการให้บริการ (Server-side Scripting)
12. การออกแบบระบบบำรุงรักษา (Site Maintenance)
13. การออกแบบระบบผู้ดูแลรักษาเว็บ (Web Server Administration)
14. การออกแบบระบบการประเมิน และการนำเสนอข้อมูล (Evaluation and Updating)
เมื่อดำเนินการครบทุกขั้นตอนแล้ว ต้องมีการทดสอบระบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ (WBT) ว่าสามารถทำงานได้ตรงตามที่ออกแบบหรือไม่

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Training : WBT)

รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ
การฝึกอบรมผ่านเว็บนั้น สามารถแบ่งรูปแบบของการฝึกอบรมได้หลายลักษณะ ดังนี้
1. แบ่งตามความแตกต่างของลักษณะหลักสูตรการฝึกอบรม แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ (Issues in Web-Based Training. 2007: Online)
1.1 Leader-Led or Facilitated Online Learning เป็นรูปแบบที่มีผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำในการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์
1.2 Self-Paced, Web-based Learning เป็นรูปแบบของเว็บที่มีการจัดระบบ ทั้งด้านเนื้อหา สื่อหรือสถานการณ์ต่างๆ ให้ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง
1.3 Online Tutorials หรือ PDF format เป็นรูปแบบของระบบเอกสารออนไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาในระบบออนไลน์ หรือพิมพ์เอกสารออกมาศึกษาด้วยตนเอง
1.4 Web-Based Electronic Performance Support Systems (EPSS) เป็นรูปแบบที่กำหนดระยะเวลาในการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนี้ยังสามารถแสดงสถานการณ์จำลองต่างๆ เพื่อสนองต่อการเรียนรู้ได้
2. แบ่งตามรูปแบบเครื่องมือที่ใช้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ (Driscoll. 1997 : อ้างอิงจาก ปรัชญานันท์ นิลสุข. 2544 : ออนไลน์)
2.1 แบบที่เป็นข้อมูลอย่างเดียว (Text-Only)
2.2 แบบที่เป็นสื่อประสม (Multimedia)

โดยในแต่ละรูปแบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ เนื้อหา (Content) ระบบโครงสร้าง (Infrastructure/Tool) และการบริการ (Services) (พรรณี เกษกมล. 2543 : ออนไลน์)
1. เนื้อหา (Content) คือ ความรู้และสารที่ผู้ให้การฝึกอบรมจะนำเสนอไปสู่ผู้รับการฝึกอบรม เนื้อหาที่ใช้ในการฝึกอบรมนั้นจะต้องเป็นเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับการฝึกอบรมผ่านเว็บ
2. ระบบโครงสร้าง (Infrastructure/Tool) โครงสร้างการฝึกอบรมผ่านเว็บประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 4 ส่วน ดังนี้
2.1 ผู้บริหารจัดการฝึกอบรม (Training Provider) มีหน้าที่คอยดูแลในส่วนของการบริหารจัดการเว็บไซต์สำหรับการฝึกอบรมไม่ว่าจะเป็นในส่วนหน้าเว็บไซต์ นอกจากนั้นยังต้องเป็นผู้ดูแลรักษาระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรมผ่านเว็บ
2.2 เซิฟเวอร์ (Server) เป็นแหล่งเก็บทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาในการฝึกอบรม ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ เป็นต้น
2.3 ผู้ช่วยฝึกอบรมหรือวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ (Tutor) เป็นผู้ฝึกหรือผู้ให้คำปรึกษากับผู้เรียน
2.4 ผู้อบรมหรือผู้เข้าร่วมอบรม (Learner) ผู้อบรมในที่นี้ คือ ผู้ที่สนใจที่จะศึกษาหรือพัฒนาความรู้ของตนเอง
3. การบริการ (Services) คือ การให้ความช่วยเหลือในลักษณะต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าอบรม การให้บริการนั้นเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง ดำเนินการต่างๆ ด้วยตนเอง ดังนั้นทางหน่วยงานหรือองค์กรที่ให้บริการจะต้องมีเครื่องมือหรือสิ่งที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการให้บริการอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบเพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้ให้การฝึกอบรมความสะดวกและง่ายในการใช้งานมากที่สุด
องค์ประกอบของการฝึกอบรมผ่านเว็บทั้ง 3 องค์ประกอบนั้นถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งไม่มีประสิทธิภาพหรือมีปัญหาก็จะส่งผลต่อส่วนอื่นๆ ด้วย เพราะเนื้อหาคือสิ่งที่จะดึงดูดใจให้ผู้เข้าอบรมเข้ามาเรียน ถ้าเนื้อหาตรงตามความต้องการก็จะทำให้ผู้เรียนต้องการที่จะเข้ามาเรียน ส่วนระบบโครงสร้างเป็นส่วนที่จะสนับสนุนให้วิธีการอบรมผ่านเว็บดำเนินการไปด้วยดี เพราะถ้าโครงสร้างของการอบรมผ่านเว็บดีจะทำให้การส่งเนื้อหาได้รวดเร็ว ทันเวลา ตอบสนองความต้องการของผู้อบรมได้ทันท่วงที พร้อมทั้งจัดการข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการบริการนั้นเป็นส่วนที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าอบรม เนื่องจากการอบรมผ่านเว็บเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนคนเดียว ขาดปฏิสัมพันธ์เหมือนกันการเรียนในห้องเรียนจึงต้องมีเครื่องมือที่คอยช่วยเหลือ เช่น เครื่องมือติดต่อสื่อสาร เป็นต้น

อ้างอิง : พนารี สายพัฒนะ

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

โครงสร้างของ E-learning

องค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอน E-Learning
ประกอบด้วย การบริหารจัดการ โครงสร้าง การสื่อสาร ผู้สอน/ผู้ฝึกอบรม วิธีการ และวิชาการ หรือเนื้อหาวิชา โดยการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของ web-based Instruction , web-based Training และการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น กิจกรรมที่ใช้จัดการเรียนการสอน E-Learning เน้นการนำเสนอผลงานที่ไม่ต้อง เผชิญหน้ากันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งผู้จัดกิจกรรม การเรียนการสอนเป็นผู้ควบคุมดูแลระบบทั้งหมด และมีความแตกต่างระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติ คือ การเรียนแบบเผชิญหน้านั้นสามารถโต้ตอบกับ ผู้สอนได้โดยตรง และทันท่วงทีมากกว่า

การเรียนการสอน E-Learning นั้น จัดเป็นระบบเปิด เพราะนักเรียนและบุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปเรียนรู้ จากเนื้อหาสาระที่นำเสนอได้ ไม่จำกัดเพศ วัย อายุ สถานที่ และเป็นเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเรียนหรือไม่เรียนเนื้อหาใด ๆ ก็ได้ แต่ก็ต้องมีกระบวนการทดสอบความรู้เพื่อการประเมินผลการเรียนรู้ที่ดี จึงจะประสบความสำเร็จ การเรียนรู้ ที่เป็นระบบเปิดนี้ จะต้องอาศัยกระบวนการป้อนข้อมูลย้อนกลับ สามารถสนองต่อกระบวนการคิด ปัญญาของบุคคล มีการสาธิต ตัวอย่าง และการตอบสนองต่อกิจกรรม คำสั่งและงาน ที่วางไว้ อย่างเป็นระบบ แตกต่างจากการเรียนแบบเผชิญหน้า ซึ่งเป็นระบบปิด

วัตถุประสงค์ของการจัดโครงสร้าง E-Learning นั้น คือ เพื่อช่วยให้สามารถคิดกระบวนการลำดับ ขั้นตอนของการจัดทำ E-Learning การออกแบบ ซึ่งจะเป็นมิติของ E-Learning ต่อไป


มิติของโครงสร้าง E-Learning ได้แบ่งไว้ดังนี้

Institutional
เป็นรูปแบบของ ประเด็นที่น่าสนใจ การบริหารระบบ วิชาการ/เนื้อหาสาระ และการบริการผู้เรียนที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้
Management
การจัดการ E-Learning การดำเนินการนำเสนอ บริบทของ E-Learning และการกระจายของข้อมูล เนื้อหาสาระ
Technological
ตัวอย่าง การสาธิต เทคโนโลยี การวางแผน เครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรม
Pedagogical
เกี่ยวกับการสอน วิธีการนำเสนอ กระบวนการที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ การวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหาประเด็นที่น่าสนใจ เสียง ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การออกแบบสำหรับการเข้าถึงองค์ความรู้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Ethical
มาตรฐานหลัก ความถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคม การเมือง การปกครอง ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี
Interface design
การออกแบบปฏิสัมพันธ์ การมองเห็น ความรู้สึก ความสามารถในการโต้ตอบ การทดสอบ การเข้าถึงข้อมูลเข้าไปใช้ได้ง่าย สะดวก
Resource support
ทรัพยากรข้อมูล ตัวอย่างที่ online ความหมายและทรัพยากรที่ต้องการ
Evaluation
การประเมินผล ประกอบด้วย การประเมิน ผลสัมฤทธิ์ และโครงสร้างของบริบทของบทเรียน


การจัดการเรียนการสอน E-Learning เป็นเหตุให้ตอบสนองต่อความรูสึกของนักเรียนได้ แตกต่างจากการสื่อสารในสมัยปัจจุบัน หรือการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้านั่นเอง

อ้างอิงจาก : http://gotoknow.org/blog/peit/37770

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

e-learning

ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ได้ให้คำจำกัดความไว้ 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะแรก E-learning หมายถึง การเรียนเนื้อหา หรือสารสนเทศสำหรบการสอน หรือการอบรม ซึ่งใช้การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนต่างๆ …..
ลักษณะที่สอง E-learning คือ การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณดาวเทียม


อ้างอิงจาก : http://www.krunong.com/ictlearning/mod/resource/view.php?id=155

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน

ปัจจุบันเราสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง การเรียนรู้ผ่าน ทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนปัจจุบัน เป็นการพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันกับความก้าวหน้าในอนาคต จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรม และ โปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น บทบาทของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาแล้วได้ 3 ลักษณะ คือ

1. นำมาใช้เพื่อสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งการนำมาใช้ในลักษณะนี้ จะจัดคอมพิวเตอร์ในลักษณะของห้องเรียน แล้วก็สอนให้รู้จักคอมพิวเตอร์ ทั้ง Hardware และ Software แล้วก็สอนการใช้โปรแกรม, โปรแกรมประยุกต์ เพื่อสร้างพื้นฐานการเป็นนักคอมพิวเตอร์


2. นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการข้อมูล ทั้งการประกอบธุรกิจเป็นแหล่งติดต่อซื้อขายสินค้า ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ จนกระทั่งการใช้บริการโปรแกรมเฉพาะทางในการวิเคราะห์ คำนวณเป็นครั้ง ๆ โดยจ่ายค่าบริการตามที่ผู้ให้บริการกำหนด ในส่วนการเรียนการสอน ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของผู้เรียน เช่นใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกลาง เปิดสื่อมัลติมีเดีย ใช้สืบค้นข้อมูลทาง อินเตอร์เน็ต ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูล และเพื่อพัฒนากระบวนการคิด

3. นำมาใช้เพื่อเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนการวิจัย เช่นนำมาเป็นส่วนประกอบของความทันสมัยแต่ไม่พัฒนา เช่นใช้เป็นเครื่องพิมพ์ดีดราคาแพง หรือใช้เพื่อความบันเทิงอย่างเดียว แนวคิดในการ นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์ ได้เริ่มขึ้นโดยสถาบัน MIT ได้ดำเนินการทดลองภายใต้โครงการ Lighthouse และพัฒนาแนวคิดนี้ขึ้นโดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน และ หน่วยงานอื่น ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยี


นอกเหนือจากเครื่องมือ ทางเทคโนโลยีอื่น ๆ ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจกันก่อนว่าในปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ในการจัด การศึกษาอย่างไรบ้าง จึงจะเชื่อมโยงความคิดไปสู่การจัดคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาได้อย่างชัดเจน
1. เราใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้บ้าง ที่ผ่านมาแนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องพิมพ์ดีด ราคาแพงได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ในบรรดาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มากมายในขณะนี้ ถูกใช้งานเพื่ออะไร และให้คุ้มค่า กับการที่ต้องจ่ายเงินซื้อมาด้วยแล้วควรที่จะต้องคิดกันอย่างหนัก และที่สำคัญคือเราใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาประเทศได้เพียงใด
2. ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการศึกษา จากความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันและอนาคตที่มีสมรรถนะสูงขึ้นเรื่อย ๆ สามารถนำมาช่วยในการจัดการศึกษา ช่วยในการพัฒนาการเรียน การสอนและพัฒนาการเรียนรู้ ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะการเรียนการสอนที่ยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้เป็นอย่างดี โดยมีบทบาทดังนี้


บทบาทในการเป็นสื่อการเรียนการสอน ซึ่งเป็นทั้ง สื่อทางเดียวและสื่อ 2 ทาง สามารถเป็นสื่อที่ใช้ในการเรียนในชั้นเรียนหรือสื่อที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาสื่ออย่างกว้างขวาง เพื่อให้สามารถเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
บทบาทในการเป็นผู้ช่วยของผู้สอน ได้แก่ CAI สามารถทำหน้าที่ได้ใกล้เคียงกับผู้สอน แม้ไม่สามารถแทนครูผู้สอนได้ แต่ก็สามารถให้ความรู้ได้อย่างกว้างขวาง
บทบาทในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สร้างองค์ความรู้ขึ้นมาในตัวของผู้เรียน เป็นกระบวนการช่วยในการพัฒนาสมอง
บทบาทในการสืบค้น เสาะแสวงหาความรู้ เพื่อให้สามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างไม่มีขอบเขต ซึ่งปัจจุบันพัฒนาไปอย่างมาก โดยรู้จักในชื่อ อินเตอร์เน็ต ซึ่งนอกจากจะค้นหาข้อมูลได้แล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยน ความรู้กับบุคคลอื่นได้ด้วย
บทบาทในการสื่อสาร เป็นบทบาทในการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ระหว่างครูกับผู้เรียน หรือกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย

อ้างอิงจาก : http://rbu.rbru.ac.th/~kurewan/chemcom/lesson1/lesson1-3.html

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เกี่ยวกับฉัน

สวัสดีค่ะ....
นู๋นิด ค่ะ
ตอนนี้เป็นนักศึกษาค่ะ...